วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน

1. กฎหมาย คืออะไร?

 กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?

          1. ต้องเป็นคำสั่ง  หรือข้อบังคับ ของผู้มีอำนาจในรัฐ
             2. ใช้ควบคุมความประพฤติกรรมสมาชิก  ( คน )
             3.  ใช้บังคับทั่วไป  (  บังคับกับคนทุกคนในราชอาณาจักร )
             4.ใช้บังคับได้เสมอไป (ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก )
             5. หากฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษ

           
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?

1.กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่สังคมเเละประเทศชาติ         

 2.การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย         

 3.สังคมจะสงบสุขเมื่อคนปฎิบัติตามกฎหมาย          

4.กฎหมายสร้วงความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์          

5.กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม


4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?  การแบ่งประเภทของกฎหมาย


          หากใช้เกณฑ์การแบ่งโดยใช้แหล่งกำเนิด  แบ่งได้  2  อย่าง
                  -  กฎหมายภายใน
                  -  กฎหมายภายนอก


             เกณฑ์แบ่ง        นอกจากนี้กฎหมายภายในสามารถแบ่งออกได้อีก โดยมีเกณฑ์สำคัญได้แก่                       

                   เนื้อหา                  - กฎหมายลายลักษณ์อักษร
                                                - กฎหมายไม่เป็นลายลักณ์อักษร


                   สภาพบังคับ (โทษ)                  

                                                 - กฎหมายอาญา
                                                  -กฎหมายแพ่ง


                   ลักษณะการใช้                

                              - กฎหมายสารบัญญัติ
                             - ประมวลกฎหมายอาญา
                             - ประมวลกฎหมายเเพ่ง
                             - รัฐธรรมนูญ
                              - กฎหมายวิธีสบัญญัติ
                             - ประมวลกฎหมายวิอาญา
                             - ประมวลกฎหมายวิเเพ่ง
                    ฐานะเเละความสำพันธ์  รัฐ / ประชาชน


5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?                   

                   1. รัฐธรรมนูญ

                   2.พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย  พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ
                   3. พระราชกฤษฎีกา
                   4. กฎกระทรวง
                   5. เทศบัญญัติ

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?

             ซีวิลลอว์ (อังกฤษcivil law) เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ
ในเชิงความคิด ซีวิลลอว์เป็นกลุ่มของแนวคิดและระบบกฎหมายซึ่งได้รับมาจากประมวลกฎหมายจัสติเนียน รวมไปถึงกฎหมายของชนเผ่าเยอรมัน สงฆ์ ระบบศักดินา และจารีตประเพณีภายในท้องถิ่นเอง รวมไปถึงความคิดเช่น กฎหมายธรรมชาติ แนวคิดในการจัดทำประมวลกฎหมายและกลุ่มปฏิฐานนิยม (กลุ่มที่ยึดถือกฎหมายที่บัญญัิติไว้เป็นหลัก)
ซีวิลลอว์ดำเนินจากนัยนามธรรม วางระเบียบหลักการทั่วไป และแบ่งแยกกฎระเบียบสารบัญญัติออกจากระเบียบพิจารณาความ ในระบบนี้จะให้ความสำคัญกับกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นอันดับแรก เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้น จะพิจารณาก่อนว่ามีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้หรือไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว ถ้ามีก็จะนำกฎหมายลายที่บัญญัติไว้นั้นนำมาปรับใช้กับข้อเท็จจริง หากไม่มีกฎหมายให้พิจารณาจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนั้นๆ จารีตประเพณีก็คือ ประเพณีที่ประพฤติและปฏิบัติกันมานมนาน และไม่ขัดต่อศีลธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าผิด และถ้าไม่มีจารีตประเพณีที่เกี่ยวข้อง กฎหมายจะอนุโลมให้ใช้บทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก่อน จนในที่สุดหากยังไม่มีบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอีก ก็จะให้นำหลักกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้ ดังนั้นในระบบนี้จึงไม่ยึดหลักคำพิพากษาเดิม จะต้องดูตัวบทก่อนแล้วถึงจะตัดสินคดีได้[1]


7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?

            ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษCommon law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาลและศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินดคีในอดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น
ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติอันเป็นอุดมคติดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลจะถูกผูกมัดในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เฉพาะเท่านั้น และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนด ศาลบางส่วนก็มีอำนาจยิ่งกว่าศาลทั่วไป อาทิเช่น ในการตัดสินคดีส่วนใหญ่ การตัดสินคดีโดยศาลอุทธรณ์จะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าในการตัดสินดคีความที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และการตัดสินคดีในอนาคตจะถูกผูกมัดตามการตัดสินของศาลอุทธรณ์นี้ แต่มีเพียงการตัดสินของศาลชั้นต่ำกว่าเป็นอำนาจซึ่งไม่ถูกผูกมัดโน้มน้าว



8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?

       2 ระบบ ได้แก่คือ 

        1.ระบบCommon Law (ระบบกฎหมายจารีตประเพณี) คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร(คืออะไร?)  คือ ระบบกฎหมายที่ยึดถือคำพิพากษาเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย  โดยนักกฎหมายระบบนี้เชื่อว่า การใช้กฎหมายที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่แข็งกระด้างไม่เป็นธรรม(คือ ภาษาที่ใช้ร่างกฎหมาย อาจตีความได้หลายนัย ซึ่งผู้พิพากษาแต่ละท่านอาจตีความต่างกัน การตัดสินคดีในเรื่องเดียวกัน อาจวินิจฉัยต่างกันได้) ดังนั้น หากฝ่ายนิติบัญญัติ(สภาผู้แทนราษฎร)ตรากฎหมายขึ้น  ศาลในระบบcommon law จะตีความอย่างแคบ(เพื่อจำกัดการใช้กฎหมายที่สภาฯได้ร่างขึ้น ให้คลุมบรรดากรณีน้อยที่สุด)  เพื่อรักษาอำนาจเด็ดขาดของฝ่ายตุลาการในการวินิจฉัยอรรถคดี ดังนั้น เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายแต่ละฉบับ จะสังเกตได้ว่า กฎหมายนั้นจะเขียนละเอียดอย่างยิ่ง มิให้ศาลใช้อำนาจตีความอย่างกว้าง ทั้งนี้  เพื่อให้ศาลใช้กฎหมายที่ร่างขึ้นตามความมุ่งหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ
       2.ระบบCivil  Law คือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ ใช้ระบบประมวลกฎหมาย  นักกฎหมายในระบบCivil Lawจะยึดถือกฎหมายที่ตราขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติ และใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายแห่งกฎหมายนั้น ๆ  ยึดถือตัวบทเป็นสำคัญ  คำพิพากษาฉบับก่อน ๆ เป็นเพียงแนวทางหรือตัวอย่างในการวินิจฉัยคดีเท่านั้น  ในเรื่องเดียวกันศาลยุคหลังอาจเดินตามหรือไม่เดินตามคำพิพากษาก่อนหน้านั้นย่อมได้


9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?

 ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมาย civil law  หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์ อักษร


10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 


1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น
2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ
3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก
4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ













วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา



บารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จากการนับคะแนน Electoral vote โดยสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่าบารัค โอบามามีคะแนน Electoral vote นำมิทท์ รอมนีย์ ที่ 275-203 คะแนน ทำให้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเบื้องต้น ประธานาธิบดีบารัค โอบาสามารถครองเก้าอี้ประธานาธิบดีได้อีกครั้ง 
                              
บารัค โอบามา - มิตต์ รอมนีย์








          สำนักข่าวบีบีซี รายงานเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนว่า หลังจากนายบารัค โอบามา ชนะคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างขาดลอยแล้ว เขาก็ได้ควงมิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯ พร้อมด้วยลูก ๆ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ศูนย์บัญชาการเลือกตั้งพรรคเดโมแครต นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ เพื่อขอบคุณประชาชนชาวอเมริกัน และสร้างความเชื่อมั่น พร้อมขอให้ประชาชนเดินไปข้างหน้าด้วยกัน และมีความหวังต่ออนาคต

          โดยนายบารัค โอบามา ได้กล่าวว่า "ขอขอบคุณชาวอเมริกันที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดี และขอบคุณที่เลือกให้ผมได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง ซึ่งนั่นแสดงถึงความไว้ใจ เชื่อมั่นของประชาชน ที่จะให้ผมได้ทำหน้าที่นี้ต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้า รวมถึงขอบคุณมิเชล โอบามา ที่ทำให้ผมเป็นผมได้ทุกวันนี้ ขอบคุณลูกสาวทั้ง 2 คน ซึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ฉลาด และเข้มแข็งเหมือนกับแม่ของพวกเธอ และขอบคุณทุกคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ และในคืนนี้ชาวอเมริกันทุกคนได้เตือนให้ผมรู้ว่าเส้นทางของอเมริกานั้นลำบากแค่นั้น แต่ในขณะที่การเดินทางของอเมริกานั้นยังอีกยาวไกล ต้องลุกขึ้นหยัดยืนอีกครั้ง และพวกเราต่างรู้อยู่เต็มหัวใจว่า เราทำเพื่ออเมริกา สิ่งที่ดีที่สุดนั้นยังไม่มาถึง"

          "ผมได้คุยกับมิตต์ รอมนีย์ แล้ว เพื่อแสดงความยินดีที่ได้พ้นผ่านการหาเสียงที่ดุเดือดมาด้วยกัน ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะเป็นคู่แข่งในการชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีครั้งนี้ แต่นั่นเป็นเพราะเราต่างรักอเมริกา เป็นห่วงอนาคตของอเมริกาเหมือนกัน และในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ผมกับรอมนีย์ก็จะพูดคุยกันเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ เพื่อที่จะจับมือกันพาอเมริกาเดินก้าวไปข้างหน้า ประชาชนชาวอเมริกันทุกคน เราเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าต่อไปนี้เราจะทำอะไร จะไปที่ไหน เราจะหอบเอาความทรงจำ สิ่งที่เราเคยสร้างมันมาด้วยกันไปด้วย และคุณจะไม่ผิดหวังกับประธานาธิบดีคนนี้ ขอบคุณที่เชื่อมั่น ไม่ว่าจะต้องเจออะไร พวกคุณจะเป็นกำลังใจของผม และผมจะยินดีกับทุก ๆ อย่างที่ชาวอเมริกันได้ทำ"

          "อนาคตของอเมริกา เราอยากจะให้เด็ก ๆ ได้เติบโตขึ้นมา โดยได้รับการศึกษาในโรงเรียนที่ดีที่สุด ได้เรียนกับครูที่ดีที่สุด ในประเทศที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อที่จะให้พวกเขามีงานที่ดีในอนาคต และนั่นหมายถึงการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย เราอยากจะทำให้ประเทศของเราปลอดภัย กองกำลังสหรัฐฯ จะต้องแข็งแกร่งที่สุด ผมอยากให้เราเดินก้าวไปด้วยกัน และผมจะเดินหน้าร่วมมือกับพรรครีพับลิกัน แก้ปัญหาต่าง ๆ ในประเทศ เพราะตอนนี้มีอะไรหลาย ๆ ที่เราต้องทำ"

          นอกจากนี้ บารัค โอบามา ยังทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า "ชาวอเมริกันครับ ผมเชื่อว่าเราจะสามารถร่วมมือกันต่อสู้เพื่ออเมริกาด้วยกันได้ ผมเชื่อว่าเราจะรักษาสัญญาในการสร้างชาติของเราว่า หากเราจะต่อสู้ไปด้วยกันแล้ว ไม่สำคัญว่าคุณจะเป็นใคร มาจากไหน มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร หรือรักที่ใดก็ตาม ไม่สำคัญว่าคุณจะเป็นคนขาว ดำ เป็นคนฮีสแปนิค เอเชีย หรือคนพื้นเมืองอเมริกัน หรือจะเด็ก จะแก่ จะรวย จะจน จะครบสามสิบสอง จะพิการ หรือเบี่ยงเบนทางเพศก็ตามแต่ คุณสามารถทำทุกอย่างให้เกิดขึ้นในอเมริกาได้ ถ้าหากคุณมีความพยายาม"



ชนะแล้ว! โอบามา นั่งผู้นำสหรัฐฯ ต่อ หลังคว้าคะแนนเกินครึ่ง


          ชนะแล้ว! บารัค โอบามา นั่งผู้นำสหรัฐฯ ต่อ หลังคะแนนทิ้งห่าง รอมนีย์ 303 ต่อ 203 เสียงแล้ว

          หลังจากคนทั่วโลกรอลุ้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด ล่าสุด ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ปรากฏออกมาแล้วอย่างไม่เป็นทางการว่า นายบารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ และได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 สร้างประวัติศาสตร์การเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตที่ชนะการเลือกตั้ง 2 สมัย นับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

          โดยจากการรายงานผลการเลือกตั้งล่าสุด เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย ปรากฏออกมาว่า นายบารัค โอบามา คว้าคะแนนเสียงอิเล็กทอรัล หรือคะแนนเสียงจากคณะเลือกตั้งทั่วสหรัฐฯ ไป 303 เสียง จากทั้งหมด 538 เสียง นับเป็นจำนวนเกินครึ่งแล้ว และกินขาด ขณะที่คะแนนเสียงล่าสุดของนายมิตต์ รอมนีย์ อยู่ที่ 203 เสียง ซึ่งแน่นอนว่า แม้ว่าอีกหลายรัฐที่ยังไม่ได้นับคะแนนเสียง จะเทคะแนนให้รอมนีย์ทั้งหมด รอมนีย์ก็ไม่มีทางตามบารัค โอบามาได้ทัน

  
        ทั้งนี้ สรุปผลการนับคะแนนเสียงอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏออกมาว่า บารัค โอบามา ชนะเลือกตั้งจากรัฐแคลิฟอร์เนีย (55 เสียง), รัฐโคโลราโด ( 9เสียง), รัฐคอนเนตทิคัต (7 เสียง), รัฐเดลาแวร์ (3 เสียง), รัฐฮาวาย (4 เสียง), รัฐอิลลินอยส์ (20 เสียง), รัฐแมสซาชูเซตส์ (11 เสียง), รัฐแมรีแลนด์ (10 เสียง), รัฐมิชิแกน (16 เสียง), รัฐมินนิโซตา (10 เสียง), รัฐเมน (4 เสียง), รัฐนิวแฮมป์เชียร์ (4 เสียง), รัฐนิวเจอร์ซีย์ (14 เสียง), รัฐนิวเม็กซิโก (5 เสียง), รัฐเนวาดา (6 เสียง) , รัฐนิวยอร์ก (29 เสียง), รัฐโอไฮโอ (18 เสียง), รัฐออริกอน (7 เสียง), รัฐเพนซิลเวเนีย (20 เสียง), รัฐโรดไอแลนด์ (4 เสียง), รัฐเวอร์มอนต์ (3 เสียง), รัฐเวอร์จิเนีย (13 เสียง), และรัฐวิสคอนซิน (10 เสียง), รัฐวอชิงตัน (12 เสียง)

          ส่วนนายมิตต์ รอมนีย์ นั้น ชนะเลือกตั้งในรัฐแอละแบมา (9 เสียง), รัฐอะแลสกา (3 เสียง), รัฐแอริโซนา (11 เสียง), รัฐอาร์คันซอ (6 เสียง), รัฐจอร์เจีย (16 เสียง), รัฐไอดาโฮ (4 เสียง), รัฐอินดีแอนา (11 เสียง), รัฐไอโอวา (6 เสียง), รัฐแคนซัส (6 เสียง), รัฐเคนทักกี (6 เสียง), รัฐลุยเซียนา (8 เสียง), รัฐมิสซูรี (10 เสียง), รัฐมิสซิสซิปปี (6 เสียง), รัฐมอนแทนา (3 เสียง), รัฐเนแบรสกา (5 เสียง), รัฐนอร์ทดาโคตา (3 เสียง), รัฐนอร์ทแคโรไลนา (15 เสียง), รัฐโอคลาโฮมา (7 เสียง), รัฐเซาท์แคโรไลนา (9 เสียง), รัฐเซาท์ดาโคตา (3 เสียง), รัฐเทนเนสซี (11 เสียง), รัฐเทกซัส (38 เสียง), รัฐยูทาห์ (6 เสียง), รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย (5 เสียง), และ รัฐไวโอมิง (3 เสียง)

           อย่างไรก็ดี ผลสรุปคะแนนเสียงอย่างเป็นทางการนั้น คาดว่าน่าจะออกมาในวันพรุ่งนี้ (8 พฤศจิกายน)





ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพโอบามากอดภริยาเกลื่อนเน็ต หลังคว้าชัยเลือกตั้ง

           จากชัยชนะของบารัค โอบามา นี้ ทำให้ประชาชนที่เลือกเขายินดีกันยกใหญ่ แต่งานนี้คงไม่มีใครดีอกดีใจได้เท่าเจ้าตัวแล้ว โดยหลังจากที่ผลการนับคะแนนปรากฏออกมา ทีมงานเบื้องหลังความสำเร็จของบารัค โอบามา ก็ได้เผยภาพตอนเขากอดภริยา ก่อนภาพดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว

           โดยภาพถ่ายดังกล่าว ถูกเผยแพร่ออกมาจากทวิตเตอร์ของบารัค โอบามา เอง เป็นภาพขณะที่ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2 กำลังกอดมิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของสหรัฐฯ ด้วยใบหน้าที่เปี่ยมไปด้วยความสุข พร้อมระบุชื่อภาพว่า "ดำรงตำแหน่งต่ออีก 4 ปี" ซึ่งภาพนี้ ถูกรีทวีตและเผยแพร่ต่อตามโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นภาพที่มีการรีทวีตมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วย

            ทั้งนี้ สำหรับภาพถ่ายดังกล่าว ถูกรีทวีตไปแล้วมากกว่า 400,000 ครั้ง ภายในไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น และเชื่อว่าจะถูกรีทวีตต่อไปอีกเรื่อย ๆ ขณะที่หลังจากชนะการเลือกตั้งแล้ว บารัค โอบามา ก็ได้มีการทวีตข้อความขอบคุณชาวอเมริกันทั้งหลาย ว่า "ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพวกคุณ ขอบคุณมากครับ" อีกด้วย




โอบามาเตรียมกล่าวสุนทรพจน์ที่ชิคาโก

            สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานหลังรู้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำลังเตรียมกล่าวสุนทรพจน์ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐฯ เพื่อขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจ เลือกให้เขาเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 หลังจากที่ได้ทวีตขอบคุณประชาชนชาวอเมริกันไปแล้ว ขณะที่บรรยากาศของกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต ต่างเต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม ความสุข ความดีใจ

            ส่วนทางด้านผู้แพ้การเลือกตั้งอย่างมิตต์ รอมนีย์ นั้น กลุ่มผู้สนับสนุนพรรครีพับริกันต่างโอบกอด ร่ำไห้ และกอดคอปลอบใจกันอย่างเงียบเหงา แต่อย่างไรก็ดี มิตต์ รอมนีย์ จะขึ้นกลุ่มสุนทรพจน์ยอมรับความพ่ายแพ้ รวมถึงแสดงความยินดีต่อบารัค โอบามา เช่นกัน



รอมนีย์ แถลงยอมรับพ่ายแพ้-ยินดีโอบามา

            นายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ว่า ต้องพ่ายแพ้ให้กับ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา จากเดโมแครต ไปแบบขาดลอย โดยเขาได้ออกมากล่าวกับผู้สนับสนุนในนครบอสตัน ยอมรับในความปราชัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงขอบคุณผู้สนับสนุน ที่ให้กำลังใจมาโดยตลอด พร้อมกับแสดงความยินดีต่อ โอบามา ที่ได้นั่งในตำแหน่งผู้นำประเทศต่อไปอีก 4 ปี

            ในขณะที่ทางฝั่งผู้สนับสนุนของ นายโอบามา และพรรคเดโมแครต ตามเมืองต่าง ๆ ก็ได้ออกมาแสดงความยินดี ในชัยชนะครั้งนี้กันอย่างพร้อมเพรียงกัน




          

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองไทย

การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน


สภาพการปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็นระยะที่สำคัญ ดังนี้
1. ระยะที่ 1 ยุคก่อนราชอาณาจักรสุโขทัย (ก่อนปี พ.ศ. 1761)
ในระยะก่อนปี พ.ศ. 1761 อำนาจของอาณาจักรเขมรรุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เขมรมีการปกครองแบบราชาธิปไตย กษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวาร โดยเมืองบริวารจะส่งส่วยเป็นบรรณาการให้แก่พระนครหลวง ขณะเดียวกันบางถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตัวเองแบบนครรัฐ กลุ่มชนคงไม่ใหญ่โต ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ปกครองบริเวณที่มีความสำคัญได้แก่ เมืองศรีเทพ บริเวณวัดจุฬามณี และบริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย
2. ระยะที่ 2 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ. 1761-1921)
การปกครองในยุคนี้วางรากบานลงแบบการปกครองครัวเรือน จุดเริ่มต้นเริ่มที่ พ่อครัว ทำหน้าที่ปกครอง ครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันเป็น เรือน หัวหน้าก็คือ พ่อเรือน หลาย ๆ เรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านมีหัวหน้าเรียกว่า พ่อบ้าน หลาย ๆ หมู่บ้านรวมกันเรียกว่า เมือง หัวหน้าคือ พ่อเมือง และพ่อขุน คือผู้ปกครองประเทศ หรือผู้ปกครองทุกเมืองนั่นเอง
แม้ว่าอำนาจสูงสุดและเดขาดจะรวมอยู่ที่พ่อขุนเพียงคนเดียว แต่ด้วยการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง พ่อขุนปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร คือ ถือตนเองเป็นพ่อของราษฎร พ่อขุนเกือบทุกพระองค์ใช้อำนาจในลักษณะให้ความเมตตาและเสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร
อาณาเขตของสุโขทัย ในแผ่นดินสุโขทัยกว้างขวางใหญ่โตมาก
ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า ...มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออกรอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจายสคาเท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบางแพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรีศรีธรรมราช ฝั่งทะเลเป็นทีแล้ว เบื้องตะวันตกรอดเมืองแอด เมืองหงสาวดีสมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพร่ เมืองมาน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชาว...นักประวัติศาสตร์ทั่วไปเชื่อว่า สุโขทัย เป็นราชธานีแห่งแรกของชาวไทยในแหลงอินโดจีนตอนกลาง และลักษณะการปกครองหัวเมืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ล้อมรอบราชธานี ทั้ง 4 ด้าน คือ ศรีสัชนาลัย (ด้านหน้า) สองแคว (ด้านตะวันออก) สระหลวง (ด้านใต้) และชากังราว (ด้านตะวันตก) การปกครองหัวเมืองชั้นในนั้นขึ้นอยู่กับสุโขทัยโดยตรง
2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานคร ที่มีผู้ดูแลโดยตรงแต่ขึ้นอยู่กับสุโขทัย ในรูปลักษณะของการสวามิภักดิ์ในฐานะเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองออก หัวเมืองชั้นนอกมี แพรก อู่ทอง ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์ และศรีเทพ
3. เมืองประเทศราช ได้แก่เมืองที่เป็นชาวต่างภาษา มีกษัตริย์ปกครองขึ้นกับสุโขทัย ในฐานะประเทศราช มีนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน เซ่า เวียงจันทน์ และเวียงคำ
3. ระยะที่ 3 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนหลาย (พ.ศ. 1921-1981)
ในปี พ.ศ. 1921 ซึ่งตรงกับสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ของพาราจักรสุโขทัย ได้ยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองของอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบทีเมืองชากังราวที่กระมหาธรรมราชาออกถวายบังคมต่อพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นครั้งนี้ที่สำคัญ คือ การที่อยุธยาพยายามทำลายศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย คือ แบ่งแยกอาณาจักสุโขทัยเป็น 2 ส่วน คือ
1. บริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ให้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสองแคว ให้กษัตริย์ของสุโขทัยปกครองต่อไป และอยู่ในอำนาจของอยุธยาในฐานะประเทศราช
2. บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ให้มีศูนย์กลางที่เมืองชากังราว และขึ้นตรงต่ออยุธยาขณะเดียวกันอยุธยาก็พยายามผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา และประสบความสำเร็จในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) สำหรับลักษณะการปกครองที่ปรากฏในระยะนี้ เป็นแบบผสมระหว่างสุโขทัย และรับอิทธิพลการปกครองแบบราชาธิปไตยของอยุธยาเข้าไปด้วย ในระยะนี้นับว่าเมืองสองแควมีความสำคัญที่สุดขณะเดียวกันเมืองสุโขทัยเก่าก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญลง
4. ระยะที่ 4 ยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1981-2537)
ในยุคนี้แนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งพวกเขมรเป็นผู้นำมาโดยถือว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ หรือเป็นพระเจ้าบนมนุษย์โลก ลักษณะการปกครองจึงเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือเจ้าปกครองข้า
ในสมัยพระบรมรามาธิบดีที่ 1 ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางแบบ จตุสดมภ์ ตามแบบของขอม มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการมีหน้าที่ดังนี้...
1. เมือง รับผิดชอบด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย
2. วัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและตัดสินคดีความต่าง ๆ
3. คลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับด้านคลัง การค่าและภาษีอากรประเภทต่าง ๆ
4. นา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการเกษตร
สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองต่าง ๆ ในระยะแรกพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลียนแบบการปกครองของสุโขทัย คือ มีหัวเมืองชันใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช แต่ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทำการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ให้มีลักษณะการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวงมากขึ้น โดยขยายอาณาเขตให้หัวเมืองชั้นในกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม หัวเมืองชั้นนอกกำหนดเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับตามขนาดและความสำคัญของเมือง โดยทางส่วนกลางจะส่งขุนนาง หรือพระราชวงศ์ไปทำการปกครองแต่สำหรับเมืองประเทศราช ยังปล่อยให้มีอิสระในการปกครองเช่นเดิม นอกจากนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงปรับปรุงระบบบริหารขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือน บริหารกิจการเกี่ยวกับเมือง วัง คลัง และนา และมีสมุหกลาโหมรับผิดขอบด้านการทหารและการป้องกันประเทศ แต่ภายหลังในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราว พ.ศ. 2234 ทั้งสมุหนายกและสมุหกลาโหมต้องทำงานทั้งด้านทหารและพลเรือนพร้อมกัน โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายก ปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ
ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1981-2437) ฐานะของเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัย เดิมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและความสำคัญของเมือง คือ
1. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองสองแคว
2. หัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองชากังราว และเมืองเพชรบูรณ์
3. หัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ เมืองพิชัย เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์)
5. ระยะที่ 5 ยุคการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2437-2476)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยได้ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม รวมทั้งจตุสดมภ์ด้วย ได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง
หลังจากจัดหน่วยบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็จัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค ในสมัยนั้นการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่ง ที่ส่วนกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ โดยได้แบ่งการปกครองประเทศ เป็นขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับไป คือ เป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองถัดจากมณฑล คือเมือง (สมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าจังหวัด) มีเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นผู้ปกครองเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง ทั้งสามส่วนนี้ปกครองโดยข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย อำเภอนั้นแบ่งออกเป็นตำบล มีกำนัน ซึ่งเป็นผู้ที่ผู้ใหญ่บ้านเลือกเป็นผู้ปกครองตำบล แบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้ปกครอง
ในปี พ.ศ. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา มณฑลพิษณุโลก (เมืองที่อยู่ในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองพิจิตร เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก) และทรงโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเยขึ้นกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ. 2493 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร
พ.ศ. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
พ.ศ. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
พ.ศ. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี (มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด)
พ.ศ. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ
6. ระยะที่ 6 ยุคหลัง พ.ศ. 2475
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยนั้นปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริการ เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกเนื่องจาก
1. การคมนาคม สื่อสาร สะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขั้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
5. ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้
5.1 จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
5.2 อำนาจบริหารในจังหวัดซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมใอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
5.3 ในฐานะของกรมการจังหวัด ซึ่งเดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ
กล่าวโดยสรุปการปกครองส่วนภูมิภาค อาศัยกฎหมาย 2 ฉบับ เป็นแม่บท คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2519 ซึ่งกำหนดรูปแบบของหน่วยบริหารขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ
7. ระยะที่ 7 ยุคปัจจุบัน
ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้จัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
2. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดให้รูปแบบการปกครองตำบลเป็นนิติบุคคล มีผู้แทนประชาชนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ประกอบเป็นสภาตำบล ทำหน้าที่บริหารงานของตำบล ส่วนตำบลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดได้ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากผลของกฎหมายฉบับดังกล่าว ทำให้จังหวัดสุโขทัยมีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 77 แห่ง โดยได้จัดตั้งดังนี้
1. ปี พ.ศ. 2538 จำนวน 1 แห่ง
2. ปี พ.ศ. 2539 จำนวน 45 แห่ง
3. ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 31 แห่ง
4. ปี พ.ศ. 2541 มีสภาตำบลจำนวน 6 แห่ง
3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้ปรับปรุงรูปแบบการบริหาร โดยให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้ง